มวยไทยสมัยรัตนโกสินทร์
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการ บรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับ ในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัย รัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย กับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวย กับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างมวยเลี่ยะผะ กังฟู ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัย รัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน
แต่คำว่า มวยไทย มีมาใช้ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายชาตินิยม ในยุคที่มี น.ต.หลวงศุภชลาศัย ร.น. เป็นอธิบดีกรมพลศึกษา มีการออกพระราชบัญญัติมวยไทย ซึ่งแต่เดิมมวยไทยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น เช่น มวยโคราช, มวยไชยา คาสิโนออนไลน์ เว็บตรงและรวมถึงการก่อสร้างเวทีมวยมาตรฐานจวบจนปัจจุบัน คือ เวทีมวยลุมพินี และเวทีมวยราชดำเนิน
ครูมวยไทยที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุค
ยุคอดีต
- กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- ยัง หาญทะเล
- นิล ปักษี
- หลวงวิศาลดรุณกร (อั๋น สาริกบุตร)
- ครูสุนทร (กิมเส็ง) ทวีสิทธิ์ ค่ายทวีสิทธิ์[14]
- ปรมาจารย์ตันกี้ ยนตรกิจ (เตี่ย) ค่ายยนตรกิจ
- ครูเขตร ศรียาภัย
ยุคปัจจุบัน
- ครูแสวง ศิริไปล่ (ว.พลศึกษา) – เสียชีวิตแล้ว
- ครูบัว วัดอิ่ม (วัดอิ่ม) – เสียชีวิตแล้ว
- ครูสนอง รักวานิช (ค่ายเมืองสุรินทร์) – เสียชีวิตแล้ว
- ครูไฉน ผ่องสุภา (ค่ายศศิประภายิม) – เสียชีวิตแล้ว
- ครูทองหล่อ ยาและ[15]
- ครูชาติชาย (สำนักดาบอาทมาฎนเรศวร)
- ครูแปรง ประธานมูลนิธิมวยไทยไชยาแห่งประเทศไทย[16]
- ครูตุ๊ย ยอดธง เสนานันท์
- ครูผจญ เมืองสนธิ์
- ครูจรวย แก่นวงษ์คำ
- ครูวิชิต ชี้เชิญ
- ครูสงวน มีระหงษ์
- ครูปราโมทย์ หอยมุกข์ (ค่ายหนองกี่พาหุยุทธ์) บุรีรัมย์
- ครูเลาะห์ มะลิพันธ์ (ค่ายศิษย์ขุน) สงขลา
- ครูครื้น อรัญดร (ค่ายชำณาญวารี) หาดใหญ่
- ครูโพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง
- ครูหมู ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
- ครูชาญณรงค์ สุหงษา
- ครูอำนวย เกษบำรุง (โรงเรียนมวยไทยนานาชาติ) รังสิต
- ครูวิชิต ไพรอนันต์ (ฉลามขาว)
- ครู สุรัตน์ เสียงหล่อ (ค่ายเดชรัตน์)
- ครูยุทธนา วงษ์บ้านดู่
- ครูเล็ก (บ้านช่างไทย)
- ครูเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง
- ครูมัด (บ้านภูวศักดิ์)
- ครูอาจารย์ชัย ศิริสูตร
- ครูอำนาจ พุกศรีสุข
- ครูทวีพงษ์ ชัยกูล ลุงรักชาติราชบุรี (ศูนย์ศึกษาพาหุยุทธ์ชาวสยาม)
- ครูโด่ง รางพิกุลน้องโด่ง ดึงดาว
หลักการชกมวยไทย
มวยไทยถือเป็นกีฬาที่นิยมมากเช่นเดียวกับกีฬาฟุดบอลการชกมวยไทยที่ดี มีหลักสำคัญ คือ มีการป้องกัน ด้วยการยืน มั่นคง เข้มแข็ง สูงเด่น การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง เปรียบเสมือนป้อมปราการ เท้าหน้า จรดชี้ไปข้างหน้าวางน้ำหนักครึ่งฝ่าเท้า เท้าหลัง วางทแยงเฉียงกว้างกว่าหัวไหล่วางน้ำหนักเศษหนึ่งส่วนสี่ไว้ที่อุ้งนิ้วหัวแม่โป้ง ขยับก้าวด้วยการลากเท้าหลังตามพร้อมที่จะหลอกล่อ ขยับเข้า ออก ตั้งรับและโจมตีตอบโต้ แขนหน้ายกกำขึ้นอย่างน้อยเสมอไหล่ หรือจรดสันแก้ม แขนหลังยกกำขึ้นจรดแก้ม ศอกทั้งสองข้างไม่กางออกและไม่แนบชิด ก้มหน้าเก็บคาง ตาเขม็งมองไปตรงหว่างอกของคู่ต้อสู้ พร้อมที่จะเห็นการเคลื่อนไหวทุกส่วน เพื่อที่จะรุก รับ หรือตอบโต้ด้วยแม่ไม้ ลูกไม้และการแจกลูกต่างๆ มีการเคลื่อนไหวที่องอาจมีจังหวะ มีการล่อหลอกและขู่ขวัญที่มีการเปรียบเทียบว่า “ประดุจพญาราชสีห์ และพญาคชสีห์” อาวุธมวยที่ออกไป ต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์แน่นอน แต่มักซ้อนกลลวงไว้ มีการต่อสู้ระยะไกล วงนอก และระยะประชิด วงใน และมีทีเด็ดทีขาดในการพิชิตคู่ต่อสู้
และแม่ไม้มวยไทย เป็นท่าต่อสู้ของวิชามวยไทยที่สำคัญที่สุด